บ่อยครั้งที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว เรามักจะเจอหรือได้ยินการรายงานว่า “เกิดแผ่นดินไหวขนาดเท่านี้ริกเตอร์” หรือ “…เท่านั้นแมกนิจูด” ทำให้เข้าว่า 2 คำนี้คือหน่วยวัดขนาดหรือระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว แต่ที่จริงแล้วนั้น ไม่ใช่!
แล้วทั้งคำว่า “ริกเตอร์” และ “แมกนิจูด” คืออะไร ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว สร้างความเสียหายอย่างไรบ้าง วันนี้ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกัน
วิธีใช้ "บันไดเลื่อน-ทางเลื่อน" ให้ปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุอันตราย
“ริกเตอร์” ชื่อมาตรวัดขนาดแผ่นดินไหว
ริกเตอร์ (Richter magnitude scale หรือ local magnitude scale ชื่อย่อ ML) เป็นชื่อมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว ที่ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter) จาก California Institute of Technology สหรัฐอเมริกา พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1935 โดยใช้ข้อมูลความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า seismograph มาคำนวณขนาดของแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งที่เกิด ซึ่งแบ่งขนาดแผ่นดินไหวเป็น 0-9
แม้ในประเทศไทยจะใช้มาตราริกเตอร์เป็นหลัก แต่มาตราริกเตอร์ก็ยังมีจุดอ่อนคือใช้วัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิน 7 ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนพัฒนามาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวอื่น ๆ ขึ้นมาอีก เช่น มาตราโมเมนต์ (Mw), มาตราคลื่นตัวกลาง (mb), มาตราคลื่นผิว (MS) โดยมาตราที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ มาตราโมเมนต์ที่วัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้อย่างแม่นยำ
ดังนั้นการรายงานเหตุแผ่นดินไหวจึงควรระบุมาตราที่ใช้วัดด้วย ตัวอย่างเช่น เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ หรือถ้าไม่ทราบ สามารถเขียนแค่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 เท่านั้นถือว่าเพียงพอแล้ว
“แมกนิจูด” คำเรียกขนาดแผ่นดินไหว
ส่วน แมกนิจูด (magnitude) แปลว่า ขนาด (ของแผ่นดินไหว) ไม่ใช่หน่วย แต่ที่ข่าวต่างประเทศใช้คำว่า 7.8 magnitude earthquake/quake เมื่อแปลเป็นไทย ที่จริงแล้วคือ แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ซึ่งไม่ต้องเติมคำว่าแมกนิจูดต่อท้ายแล้ว
"แผ่นดินไหว" กลางดึกพื้นที่พิษณุโลก รู้สึกสั่นไหวหลายจังหวัดใกล้เคียง
ครั้งแรกในรอบ 100 ปี! แผ่นดินไหวพิษณุโลก เกิดจากรอยเลื่อนซ่อนตัว
เช็กความรุนแรงขนาดไหน สร้างความเสียหายอะไรบ้าง
เมื่อพูดถึงขนาดของแผ่นดินไหว คนมักจะสับสนกับอีกคำคือ “ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (intensity)” ซึ่งกำหนดระดับความรุนแรงโดยใช้ความรู้สึกของการสั่นสะเทือนกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
โดยมาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวก็มีหลายมาตราเช่นกัน แต่ที่นิยมใช้ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยคือ มาตราเมอร์คัลลิ (Mercalli scale) ซึ่งแบ่งความรุนแรงเป็น 12 ระดับ เขียนเป็นตัวเลขโรมัน จากน้อยไปมาก จากระดับ I ประชาชนไม่รู้สึก ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ ไปถึงระดับ XII อาคารเสียหายเกือบทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความรุนแรง I-II (ขนาด 1.0-2.9) : ประชาชนไม่รู้สึก เครื่องมือตรวจวัดได้เท่านั้นคำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
ความรุนแรง III (ขนาด 3.0-3.9) : ผู้ที่อยู่ในอาคารรู้สึกค่อนข้างชัดเจนว่ามีแผ่นดินไหว การสั่นสะเทือนคล้ายๆ กับเมื่อมีรถบรรทุกแล่นผ่าน
ความรุนแรง IV-V (ขนาด 4.0-4.9) : เกือบทุกคนรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหว ถ้วยชามตกแตก หน้าต่างพัง สิ่งของที่ไม่มั่นคงคว่ำ โคมไฟแกว่ง
ความรุนแรง VI-VII (ขนาด 5.0-5.9) : ประชาชนทุกคนรู้สึก และอาคารเสียหายเล็กน้อย ปูนฉาบผนังร่วงหล่น
ความรุนแรง VII-VIII (ขนาด 6.0-6.9) : ประชาชนตื่นตกใจ และอาคารเสียหายปานกลาง ปล่องไฟ บ้าน โรงงาน เสาหิน กำแพงหักล้ม พังลงมา
ความรุนแรง IX-X (ขนาด 7.0-7.9) : อาคารเสียหายอย่างมาก พบรอยแตกบนพื้นดิน ดินลาดเขาเคลื่อนตัว
ความรุนแรง XI-XII (ขนาด 8.0 เป็นต้นไป) : ตึกถล่ม สะพานขาด ดินถล่มอาคารเสียหายทั้งหมด โครงสร้างบิดเบี้ยวหมด วัตถุทุกอย่างกระเด็นกระดอน ปลิวขึ้นไปในอากาศ
ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสารสาระวิทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ กรมทรัพยากรธรณี
แบบทดสอบเช็กความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ฟรี! รู้ก่อนรักษาก่อนมีโอกาสหายได้!